AJ คอมพิวเตอร์ - พยายามอย่ากด Power ค้าง/แช่ เพื่อปิดคอม ไม่เป็นเรื่องดีเลย...



                 บางครั้ง  คุณอาจจะลดทอนอายุของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณโดยไม่รู้ตัว เมื่อทำการ Force Shutdown โดยการกดปุ่มเปิด/ปิด (power) ค้างไว้ เวลาที่คอมพิวเตอร์เกิดอาการแฮงค์ หรือเวลาที่คุณรีบกลับบ้านแล้ว windows ทำการ Update และคุณไม่อยากรอจนมันเสร็จ ซึ่งเป็นวิธีปิดที่ไม่ดีเอาเสียเลย เพราะมันสามารถทำให้เกิดข้อผิดพลาดในไฟล์รีจิสทรีของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ของคุณอาจจะบูทไม่ขึ้นในครั้งต่อไป ที่ร้ายแรงกว่านั้นคือข้อมูลหาย หรือแม้กระทั่งกระทบต่อ ฮาร์ดดิสในขั้นรุนแรงถึงระดับ ฮาร์ดแวร์ และทำให้คุณต้องพาเครื่องเข้า ร้านซ่อมคอม หรือ แม้แต่ ศูนย์กู้ข้อมูล ด้วยซ้ำ

                 คอมพิวเตอร์มีระบบปฏิบัติการ ที่สำคัญที่บางทีอาจจะเกิดอาการแฮงค์/จอดำ เป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ในบางที (ถ้าไม่บ่อย)  การปิด/ไฟดับอย่างฉับพลัน ทำให้ DataTable 


ที่เก็บข้อมูลสำคัญใน Harddiskเกิดความเสียหาย Table นี้จะเก็บตำแหน่งที่สำคัญของข้อมูลใน Harddisk ซึ่งหากไม่มีมัน จะทำให้การกู้ข้อมูลเป็นไปได้ด้วยความยากลำบาก หรืออาจไม่สามารถกู้ข้อมูลได้เลย  เพราะฉะนั้นคุณควรมีเครื่องสำรองไฟ หรืออย่างน้อย ปลั๊กพ่วงที่มีระบบป้องกันไฟกระชาก

            ไฟกระชากสามารถก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นกับฮาร์ดแวร์กว่าอาการเครื่องดับแบบปกติ
            สำหรับคอมพิวเตอร์แล้ว การใช้งานได้อย่างราบรื่นและปลอดภัยจากไฟดับถือเป็นข่าวดี อย่างไรก็ตาม กระชากของไฟฟ้าอาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นกับฮาร์ดไดรฟ์  แล็ปท็อป ไฟกระชากเกิดจากกระแสไฟฟ้าที่แตกต่างกัน  และความแตกต่างที่อยู่ในกระแสไฟฟ้าอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ฮาร์ดไดรฟ์ ข่าวดี(หรือร้าย)ก็คือว่า บริษัท ที่ดำเนินการให้บริการกู้ข้อมูล อาจจะ หรือ ไม่อาจกู้ข้อมูลให้คุณได้ทุกเมื่อและทุกอาการ อันเนื่องมาจากระดับความเสียหายด้าน Hardware ที่ Harddisk ของคุณได้รับ

            ฮาร์ดดิสก์สามารถเสียหาย  ได้ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน  รวมทั้งความล้มเหลวทางกลไกกายภาพ (ชิ้นส่วนภายใน cover ฮาร์ดดิสก์ เช่นมอเตอร์ดิสก์ที่ผิดพลาดอย่างหนัก  หัวอ่าน / เขียน  หรือความเสียหายจากจานดิสก์) ความเสียหายด้านอิเล็กทรอนิกส์คือเมื่อชิปวงจรบนแผ่น PCB - แผงวงจรพิมพ์ได้เสียหายหรือไหม้ ความเสียหายของเฟิร์มแวร์คือเมื่อรหัสเฟิร์มแวที่มาจากโรงงานบนฮาร์ดดิสก์ได้ถูกทำให้เสียหาย/สูญหายไปนั่นเอง


FreeWebSubmission.com

0 ความคิดเห็น